วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply

              สวัสดีผู้อ่านทุกคน วันนี้มีประสบการณ์ดีๆ มานำเสนอทุกคนค่ะ จากประสบการณ์หลายครั้งที่ได้แกะคอมพิวเตอร์และนำชิ้นส่วนต่างๆ ออกมา แต่ในครั้งนี้เรามาลองวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในแต่ละ     พินของ Power Supply ค่ะ


จากภาพเราทำกำลังทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าโดยใช้เครื่องวัดแบบอนาล็อกค่ะ



            และนี่เป็นลักษณะของเครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าทั้งสองแบบค่ะ ถ้าเราใช้แบบดิจิตอลเราก็ไม่ต้องงงกับการอ่านค่าของไฟฟ้า แต่ถ้าแบบอนาล็อกต้องมีการตั้งค่าและดูตัวเลขและนับเอาตามเข็มนะค่ะ ถ้าจะให้เปรียบเทียนก็คล้ายกับนาฬิกาค่ะ ที่ปัจจุบันจะมีทั้งแบบดิจิตอลและอนาล็อก


                   จากภาพคือลักษณะของ Connector ที่เราจะนำมาวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าค่ะ
ต่อไปเราก็จะเริ่มทำการวัดแล้วนะค่ะ มาดูกันเลย


(อ้างอิง : http://makezine.com/projects/computer-power-supply-to-bench-power-supply-adapter/)


จากภาพคือค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เราวัดได้ด้วยเครื่องวัดแบบดิจิตอลค่ะ เป็นไงกันบ้างง่ายนิดเดียวใช่ไหมการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า สำหรับครั้งหน้าเราจะมีอะไรมานำเสนอนั้นต้องมาติดตามกันนะค่ะ สำหรับวันนี้ไปแล้วค่ะ บ๊าย บาย

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส

สวัสดีผู้อ่านทุกคนนะค่ะ วันนี้มีอะไรน่าตื่นเต้นมาลุ้นกันอีกแล้วค่ะ เพราะว่าครั้งนี้เราจะประกอบและต่อสายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต่อเข้ากับเคส หรือพูดง่ายๆ ก็คื่อการเปิดปิดเครื่องโดยไม่ได้กดปุ่ม power จากเคสนั่นเองค่ะ ก่อนอื่่นเราก็่ต้องแกะอุปกรณ์ออกมาจากเคสกันก่อน ไปดูและลุ้นไปด้วยกันว่าเครื่องจะเปิดติดไหม ป่ะๆ  555





ในขั้นตอนนี้เรากำลังแกะเอาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเคส ออกมาค่ะ ถอดออกมาทุกอย่างเลยนะค่ะ ทั้งฮาร์ดดิสก์ พาวเวอร์ซัพพลาย เมนบอร์ด และอุปกรณ์อื่นๆ ค่ะ และสิ่งสำคัญในขณะที่แกะอุปกรณ์ออกมาต้องจดจำด้วยนะว่าชิ้นส่วนไหนอยู่ตรงไหนและต่อเข้ากันในลักษณะใด ๆ ถ้าจะให้ดีถ่ายรูปตรงบริเวณนั้นและค่อยๆ แกะไป ต้องถ่ายนะค่ะ เพราะว่าเราเคยมีประสบการณ์ในการแกะครั้งแรกที่จำไม่ได้ว่าอะไรต่อเข้ากับส่วนไหน โดยเฉพาะตัวสายไฟที่มีหลายสีมากๆ นี่ค่ะ ตอนจะต่อเข้าให้เหมือนเดิมจะงงมากเลยนะค่ะ











ภาพทางด้านซ้ายมือของผู้อ่านคือ เมนบอร์ดที่ยังไม่ได้แกะสายและพัดลม CPU ออกค่ะ



ภาพทางด้านขวามือของผู้อ่านคือพัดลม
CPU ที่แกะออกจากเมนบอร์ดแล้วค่ะ

นี่เป็นเมนบอร์ดที่เราได้แกะเอาชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ออกหมดแล้วค่ะ เมนบอร์ดนี้เป็นยี่ห้อ Asus ค่ะ ฝุ่นเยอะมากๆ เลยค่ะ เราต้องทำความสะอาดกันก่อน



และนี่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่เราได้แกะออกมาจากเคสแล้วค่ะ ต่อไปเราจะต่อสายอุปกรณ์ทั้งหมดแต่ไม่ต่อเข้ากับเคสค่ะ







ต่อแล้วนะจ่ะ  เสียบสายถูกไหมน๊าาาาาา                 เดี๋ยวต้องมาลุ้นกัน







                                                        ต่อไปเราจะมาทดสอบ เปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กดปุ่ม power มาดูกันว่าเราจะทำยังไงแต่ก่อนที่เราจะเปิดนั้น เราต้องศึกษาหาวิธีการเปิดปิดกันก่อนซึ่งดูได้จาก Data Sheets กันค่ะ

เมื่อรู้ pin ในการเปิด - ปิดเครื่องแล้วเราก็มาทดสอบเปิด - ปิด กันเลย 




เย้ๆ เปิดได้แล้ว แต่ในขณะที่เราทำการทดสอบนี้เราต้องระมัดระวังด้วยนะ อย่าอยู่ใกล้กับส่วนที่จะช็อตเราเด็ดขาด ไม่งั้นเราจะเสียโอกาสในการมีลูกนะจ่ะ 555 สำหรับวันนี้ก็ไปแล้ว บ๊าย บาย ค่ะ

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

acer aspire 4738z






คุณสมบัติเด่นของเครื่อง

GPU - การ์ดจอ แสดงผล Intel GMA HD Graphics (Onborad)

Chipset Mobile Intel HM55 Express chipset

ออปติคอลไดรฟ์ DVD Writer (Dual Layer Support)

แบตเตอรี่ 6 Cell Li-ion ใช้งานได้ต่อเนื่องประมาณ 3 ชั่วโมง

คุณสมบัติการแสดงผล

หน้าจอแสดงผล 14 นิ้ว แบบ HD LED ความละเอียดระดับ (1366x768 Pixel) Acer CineCrystal อัตราส่วน 16:9

GPU - การ์ดจอ แสดงผล Intel GMA HD Graphics (Onborad)

คุณสมบัติทางด้านเสียง

ลำโพง Built-In Stereo Speakers

ระบบเสียง มีในตัว

ไมโครโฟน มีในตัว

คุณสมบัติการเชื่อมต่อ

ไวร์เลสแลน Acer InviLink Nplify 802.11b/g/n Wi-Fi CERTIFIED

บลูทูธ มีในตัว

ยูเอสบี 3 Port เวอร์ชั่น 2.0

Card Reader 5 in 1 : SD, SD-HC, MMC, MS, xD



จากภาพ หาข้อมูลจาก CPU-Z ซึ่ง CPU - หน่วยประมวลผลรุ่น Intel Pentium P6200 (2.13GHz )

หน่วยความจำ 2 GB DDR3 สามารถเพิ่มได้สูงสุดที่ 8 GB DDR3 ภาพได้มาจากการแกะเครื่องของเราเอง ยี่ห้อของแรมคือ Kingston  และภาพข้างล่างสุดไดจากการหาข้อมูลจากระบบปฏิบัติการ ubuntu 



ภาพฮาร์ดดิสข้างบนเป็นภาพของเครื่อง
ที่ใช้งานมาแล้วประมาณ 7 ปี ซึ่งฮาร์ดดิสก์มีความจุที่ 500 GB 5400 รอบต่อวินาที
ยี่ห้อ Western Digital










เปลียน power supply




สวัสดีค่ะวันนี้มีประสบการณ์ดีๆ มาแบ่งปันอีกแล้ว  จากหลายครั้งที่ได้ถอดเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นออกมาวางบนโต๊ะแล้วก็แชะๆ กันค่ะ  แต่ครั้งนี้มีอะไรดีๆ เพิ่มมากขึ้นค่ะ วันนี้ได้ทดลองเปลี่ยน power supply ค่ะ ในตอนแรกก็ดูเพื่อนในห้องสาธิตให้ดูก่อนหลังจากนั้นเราก็หากลุ่มที่จะมาสับเปลี่ยน power supply กับเราค่ะ ได้กลุ่มที่จะเปลี่ยนกับเราแล้วไปดูกันว่ามันจะระเบิดไหม 555

power supply ของเครื่อง PC กลุ่มเราเป็นของ pentium 4 
เรากำลังขันน็อตเพื่อนำพัดลมออกมาสลับกันกับของเพื่อน จากภาพจะเห็นว่ามีเพื่อนช่วยจับเป็นผู้หญิงบอบบางค่ะ ไม่มีแรง ไม่ใช่แระ จริงๆ งานที่เราได้ทำเป็นงานกล่มในห้องนะค่ะ กลุ่มเราสามสาวค่ะ 555







กำลังดึงเอาอุปกรณ์ออกค่ะเพราะว่า
ตัวที่เราจะละลายตะกั่วออกเพื่อเอาสายไฟของพัดลมออกอยู่ด้านล่างไม่ได้อยู่ด้านบนเหมือนของเพื่อนกลุ่มอื่นแต่อยู่ด้านล่างของแผงวงจรค่ะ มองดูก็เลยเหมือนว่าจะยากหน่อย แต่ไม่ยากนะคะ อิอิ






หลังจากที่ดึงอุปกรณ์ออกมาได้แล้วเราก็จะละลายตะกั่วด้วยหัวแร้งค่ะ บอกไว้ก่อยเลยนะคะ ว่าในขั้นตอนนี้ต้องระมัดระวังเพราะหัวแร้งมีความร้อน ในภาพด้านซ้ายมือของผู้อ่านเป็นหัวแร้งที่ใช้ละลายตะกั่วที่ยึดสายไฟเอาไว้กับแผงวงจรออกด้านขวามือของผู้อ่านเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดเอาตะกั่วที่ละลายแล้วออกค่ะ 

ภาพด้านล่างเป็นขั้นตอนในการสับเปลี่ยน power supply กับของเพื่อนค่ะ ขั้นก็ง่ายๆ ค่ะหลังจากที่ดึงเอาสายไฟ จากการละลายตะกั่วออกแล้ว ดังภาพด้านบน ก็นำพัดลมไปเปลี่ยนกับของเพื่อนและนำมาบัดกรีเข้ากับแผงของวงจรเหมือนเดิมค่ะ แต่ต้องจำไว้นะค่ะ ว่าสายไฟสีไหนอยู่ด้านไหนเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นค่ะ 


ภาพด้านล่างนี้จะเห็นว่าเพื่อนที่อยู่ใกล้จะยืนปิดจมูกนะค่ะ เวลาที่เราบัดกรีตะกั่วจะมีควันนะคะ ต้องพยายามอย่าสูดดมมากนะคะ ไม่ดีต่อร่างกาย

หลังจากที่เราได้เปลี่ยนกับเพื่อนและบัดกรีเข้ากับแผงวงจร และขันน็อตแผงวงจรเข้ากับกล่องของ power supply แล้วคะ ในการทดลองการทำงานของ power supply ใช้แหนบเป็นตัวนำไฟฟ้า จากผลการทดลองการทำงานของ power supply ผลปรากฏว่า power supply ใช้งานได้ไม่ระเบิดใส่เรานะ 555




สำหรับวันนี้ชีวิตเราก็ปลอดภัยแล้วค่ะ ต่อไปเราจะทำอะไรกันต่อผู้อ่านก็มาลุ้นด้วยกันนะค่ะ